ในด้านการรักษานั้นทางการแพทย์แผนไทยได้มีเป้าหมายเพื่อลดปัญหา ภาวะโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคไต โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง รวมทั้งโรคเกี่ยวกับโครงสร้างและกล้ามเนื้อ อีกทั้งให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสุขภาพด้วย ซึ่งบทบาทของการแพทย์แผนไทยในระบบสาธารณสุขของประเทศไทยในอาเซียนนั้นทางกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายในการนำการบริการการแพทย์แผนไทย และสมุนไพรเข้าสู่ระบบบริการสุขภาพในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐทั่วประเทศ และพัฒนามาตรฐานบริการและผลิตภัณฑ์ให้ได้ระดับสากล ขณะนี้มียาแผนไทยบรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติแล้ว ซึ่งมีผลการวิจัยแล้วว่ามีสรรพคุณในการรักษาโรคได้
และมีนโยบายให้แพทย์แผนไทยปฏิบัติงานในโรงพยาบาลทุกระดับรวมทั้งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดละ 2-3 โรงพยาบาล และพัฒนาโรงพยาบาลต้นแบบแพทย์แผนไทยภาคละ 1 แห่ง
ปัจจุบันประชาชนได้ให้ความสนใจ และหันมารับการรักษาด้วยการแพทย์แผนไทยมากขึ้น ดังนั้นทางคลินิกการแพทย์แผนไทยประยุกต์จึงเห็นว่าการให้ข้อมูล และความรู้ที่ถูกต้องจะเป็นสิ่งที่ทำให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี และเกิดความมั่นใจในการรับบริการ และจึงจะมาไขข้อข้องใจที่หลายท่านถามกันบ่อยๆ นะคะ
Q : ขณะมีประจำเดือนนวดได้หรือไม่ ?
A : ขณะมีประจำเดือนไม่ควรนวดเพราะจะเกิดการอักเสบได้ง่าย แต่ถ้าในกรณีที่มีอาการปวดมาก ขณะมีประจำเดือนควรประคบร้อน หรือเพียงแค่ นวดคลายบริเวณที่ปวดเป็นช่วงเวลาสั้นๆ นอกจากนี้ ก่อนมีประจำเดือน 7 วันก็ไม่ควรทำการนวดเพราะ ในช่วงก่อนมีประจำเดือน 7 วันนั้นจะเป็นช่วงที่ ไข่ตกซึ่งอุณหภูมิของร่ายกายจะมีระดับสูงขึ้น ดังนั้นจึงเสี่ยงที่จะมีไข้หลังจากนวดได้ง่าย นอกจากนี้ ช่วงที่ไข่ตกนั้นหากมีการปฏิสนธิของไข่ และอสุจิ อาจทำให้การตั้งครรภ์นั้นหลุดไป หรือเกิดภาวะ ความผิดปกติ ของทารกได้
Q : ผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงนวดได้หรือไม่ ?
A : ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงนั้นสามารถนวดได้แต่ก่อนนวดนั้นควรจะที่วัดความดันโลหิตก่อน
หากมีความดันโลหิตเกิน 140/90 mm.Hg ไม่ควรนวดแต่ทั้งนี้อยู่ในดุลยพินิจของแพทย์แผนไทย สำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ทำการนวดแต่ก็เป็นภาวะที่อาจเกิดอันตรายได้ เช่น เส้นเลือดในสมองแตก
Q : การนวดเท้ามีประโยชน์อย่างไร ?
A : การนวดเท้าจะเป็นการผ่อนคลายมากกว่าการรักษา เหมาะกับผู้ที่มีการตึงของกล้ามเนื้อขา น่องเพียงเล็กน้อย หรือไม่มีปัญหาของรอยโรค แต่ทั้งนี้การนวดเท้าจะช่วยคลายกล้ามเนื้อตั้งแต่ใต้เข่าถึงปลายเท้าบรรเทาอาการชาปลายเท้าได้ เพราะจะช่วยให้เลือดบริเวณเท้าหมุนเวียนได้ดียิ่งขึ้น
Q : การนวดเท้ามีประโยชน์อย่างไร ?
A : การนวดเท้าจะเป็นการผ่อนคลายมากกว่าการรักษา เหมาะกับผู้ที่มีการตึงของกล้ามเนื้อขา น่องเพียงเล็กน้อย หรือไม่มีปัญหาของรอยโรค แต่ทั้งนี้การนวดเท้าจะช่วยคลายกล้ามเนื้อตั้งแต่ใต้เข่าถึงปลายเท้าบรรเทาอาการชาปลายเท้าได้ เพราะจะช่วยให้เลือดบริเวณเท้าหมุนเวียนได้ดียิ่งขึ้น
Q : หญิงตั้งครรภ์สามารถนวดได้หรือไม่ ?
A : หญิงตั้งครรภ์ไม่ควรนวดในช่วงสามเดือนแรกและสามเดือนหลังก่อนคลอด เพราะอาจจะทำให้เกิดภาวะ แท้งได้ ถ้ามีอาการปวดมากควรทำการประคบช่วยคลายกล้ามเนื้อแต่ทั้งนี้การนวดสำหรับหญิงตั้งครรภ์ หากอยู่ในช่วงอายุครรภ์ 4-6 เดือนควรนวดด้วยความระมัดระวังและผู้มีประสบการณ์ หากมีโอกาสทาง คลินิกจะมาสอนวิธีการนวดสำหรับหญิงตั้งครรภ์ให้ทุกท่านได้ทราบกัน
Q : การนวดนั้นสามารถนวดได้ทุกวันหรือไม่ ?
A : การนวดนั้นไม่ควรนวดทุกวันเพราะกล้ามเนื้อจะเกิดการระบมได้ และประโยชน์ที่ได้จากการนวด จะน้อย เว้นแต่เป็นโรคที่แพทย์แผนไทยระบุว่าควรทำการนวดติดต่อทุกวัน เช่น โรคคอตกหมอน
Q : การอบสมุนไพรมีประโยชน์อย่างไร ?
A : การอบสมุนไพร คือการอบตัวด้วยไอน้ำที่ ได้จากการต้มสมุนไพรเป็นวิธีการบำบัดอย่างหนึ่ง ที่ใช้กันมานานมาก คือการใช้ “ความร้อนบำบัดช่วยขับสารพิษออกทางเหงื่อ บรรเทาอาการหวัด คัดจมูก ภูมิแพ้ คลายกล้ามเนื้อ ช่วยทำให้นอนหลับ บำรุงผิวพรรณ ใช้ในการบริบาลมารดาหลังคลอด โดยประโยชน์นั้นจะขึ้นอยู่กับสรรพคุณสมุนไพร ที่ใส่ลงไปในยาต้มอบด้วยนะคะ
Q : ชาชงสมุนไพรกินแล้วทำให้ท้องผูกหรือไม่ ?
A:ในการแพทย์แผนไทยเมื่อกล่าวถึงชาชงสมุนไพรนั้น หมายถึงวิธีการปรุงยารูปแบบหนึ่ง เตรียมโดยใช้สมุนไพรแห้งชง หั่นต้นสมุนไพรสดให้เป็นชิ้นเล็กๆ บางๆ แล้วผึ่งแดดให้แห้ง ถ้าต้องการให้ไม่มีกลิ่นเหม็นเขียวให้เอาไปคั่วเสียก่อนจนมีกลิ่นหอม การชง (Infusion) คือการสกัดโดยแช่สมุนไพรด้วยน้ำร้อนหรือน้ำเย็นในช่วงเวลาสั้นๆ
Q : คลินิกการแพทย์แผนไทยมีบริการอะไรบ้าง ?
A : คลินิกการแพทย์แผนไทยประยุกต์เป็นหน่วยงานหนึ่งของโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย ให้บริการนวดเพื่อรักษาและประคบสมุนไพร นวดเพื่อการส่งเสริมสุขภาพนวดเท้า ประคบสมุนไพร อบสมุนไพร ทับหม้อเกลือ(การบริบาลมารดาหลังคลอด) ยาสมุนไพรและให้คำปรึกษาด้านการแพทย์แผนไทยค่ะ
Q : หากสนใจที่จะมารับบริการที่คลินิกต้องทำอย่างไรบ้าง ?
A : คลินิกการแพทย์แผนไทยประยุกต์ยินดีต้อนรับทุกท่าน ทั้งข้าราชการ และประชาชนทั่วไป ที่จะมารับบริการ หรือขอคำปรึกษาด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร ซึ่งสามารถมาติดต่อรับบริการได้ที่ คลินิกการแพทย์แผนไทยประยุกต์ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา อาคารเทพอาทร (อยู่บริเวณด้านซ้ายมือของประตูทางเข้าโรงพยาบาล ) หรือโทรศัพท์สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 038-320225, 038-320200 ต่อ 1347,1447 วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.00-19.00 น,วันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 8.30-16.30 น. ค่ะ
Q : ทางคลินิกมีบริการสำหรับชาวต่างชาติอย่างไรบ้าง ?
A : คลินิกการแพทย์แผนไทยประยุกต์ให้บริการสำหรับชาวต่างชาติเช่นเดียวกับคนไทยและในอัตราการ รักษาเดียวกัน หากชาวต่างชาติไม่สามารถสื่อสารด้วยภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษได้ ทางที่ดีควรพาญาติมาด้วย เพราะทางคลินิกของเรามีล่ามภาษาอังกฤษเพียงภาษาเดียวเท่านั้นค่ะ
Q : ทำไมประชาชนจึงควรมารับบริการที่คลินิกการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ?
A: คลินิกการแพทย์แผนไทยประยุกต์มีแพทย์แผนไทยประยุกต์ประจำที่มีใบประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ (พท.ป.) คอยให้คำแนะนำและ
ตรวจวินิจฉัยเพื่อสั่งการรักษาและประเมินข้อห้าม ข้อควรระวังในรายที่มีความเสี่ยงในการรักษา มีเจ้าหน้านวดที่ได้รับการอบรม และได้รับการรับรองจาก กระทรวงสาธารณสุข เสื้อผู้ป่วยไม่ใส่ซ้ำกันซักทำความสะอาดทุกวัน ปลอกหมอน ผ้าปูเตียงเปลี่ยน ทุกคน สถานที่สะอาดเดินทางสะดวกสบายค่ะ
คลินิกการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ให้บริการประชาชนทั้งชาวไทย และต่างชาติ ให้บริการทั้งในคลินิก และออกหน่วยสอน ตลอดจนให้ความรู้กับประชาชนตามหน่วยงานราชการ และโรงงานอุตสาหกรรม ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดี และได้ตระหนักถึงการดูแลรักษาสุขภาพของตนเองและครอบครัว ซึ่งคลินิกแพทย์แผนไทยประยุกต์ยินดีต้อนรับให้บริการ และคำปรึกษากับทุกๆ ท่านนะคะ….สวัสดีค่ะ
———————————————–