โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา

โรครองช้ำ หรือภาวะเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ

โรครองช้ำหรือภาวะเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ คือภาวะที่มีการอักเสบของเอ็นฝ่าเท้า เป็นปัญหาที่พบมาก      ในเวชปฏิบัติทั่วไปและเป็นภาวะที่พบบ่อยที่สุดในผู้ป่วยที่มีอาการปวดบริเวณฝ่าเท้า ซึ่งภาวะนี้พบได้บ่อยในผู้หญิงที่มีอายุน้อยถึงวัยกลางคน ซึ่งพบมากที่สุดอายุระหว่าง 40 – 60 ปีและนักกีฬาวิ่ง หรือผู้ที่มีรูปเท้าผิดปกติ ผู้ที่น้ำหนักตัวมากหรือใส่รองเท้าไม่เหมาะสมกับตัวเอง  ผู้ที่มีปัญหาเอ็นฝ่าเท้าอักเสบมักจะมีอาการปวดบริเวณส้นเท้ามีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันและการทำงาน โดยมักจะมีอาการเรื้อรังหรือเป็นซ้ำได้บ่อย ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคปัจจุบันพบว่ามีความสัมพันธ์กับการฉีกขาดเล็กๆ ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ ของเส้นเอ็นฝ่าเท้าจากการยืน เดิน วิ่ง และการใช้งานเท้าที่หนักกว่าปกติ

กายวิภาคของเอ็นฝ่าเท้า (Plantara fascia)

เอ็นฝ่าเท้า (Plantar fascia) คือเอ็นแผ่นบางๆ ที่ห่อหุ้มเท้ายึดจากส้นเท้าไปที่ปลายนิ้วเท้า และเป็นตัวรับแรงกระแทกขณะยืน เดิน และวิ่ง ลักษณะเหมือนเชือกที่คันธนูครับ

การเกิดโรค

การดึงรั้ง หรือใช้งานที่ทำให้เอ็นฝ่าเท้าตึงเกินไปจากการลงน้ำหนักซ้ำ ลงน้ำหนักในท่าที่บิดกว่าปกติ หรือลงน้ำหนักมากกว่าปกติจากการยืน เดิน และวิ่ง หรือจากการที่ผู้ป่วยมีฝ่าเท้าที่ผิดปกติอยู่เดิม  ก็จะทำให้เกิดการอักเสบ การฉีกขาดเล็กๆ และนำไปสู่การอักเสบของเอ็นฝ่าเท้า ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของอาการเจ็บในที่สุด

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค

  • น้ำหนักที่มากกว่าปกติ (BMI≥30 kg/m2 or>200 pounds) ทำให้กดเอ็นฝ่าเท้ามากกว่าปกติ
  • การมีภาวะความผิดปกติของรูปเท้าอยู่เดิม เช่น อุ้งเท้าแบน อุ้งเท้าสูง
  • มีลักษณะการเดินที่ผิดปกติ
  • ลักษณะของรองเท้า เช่น รองเท้าหลวมเกินไป การสวมรองเท้าส้นสูงเป็นประจำ
  • ผู้ที่มีอาชีพที่ต้องเดิน หรือยืนนานๆ

อาการของโรค

อาการเจ็บบริเวณส้นเท้าเป็นอาการหลักของโรค มักจะมีอาการตั้งแต่เดินเก้าแรกของวัน คือหลังตื่นนอน การเดินมากจะทำให้อาการปวดรุนแรงขึ้น อาการจะดีขึ้นตอนนั่ง หรือพักการใช้งานเท้า และอาจมีอาการเรื้อรังนานเป็นเดือนได้นะครับ

การรักษา

  • ในระยะแรกของอาการปวดสามารถรักษาได้โดยการพักการใช้งานหนัก การรับประทานยาแก้อักเสบ และการประคบเย็น รวมถึงการทำกายภาพบำบัดด้วย

ตัวเองก็สามารถช่วยทำให้อาการปวดดีขึ้นได้

  • การเลือกใส่รองเท้าที่เหมาะสมกับขนาด และรูปเท้า หรือการใช้กายอุปกรณ์เสริมอุ้งเท้าก็เป็น การรักษาอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งวิธีนี้ยังเป็นวิธีการป้องกันภาวะเอ็น

ฝ่าเท้าอักเสบได้อีกด้วย

  • ในกรณีที่มีอาการปวดที่รุนแรง หรือมีระยะเวลาของโรคที่นาน และอาการปวดไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจหาภาวะร่วม หรือโรคร่วม และแนวทาง

การรักษาเพิ่มเติมเช่น  การฉีดยา และทำ Shockwave ต่อไป

วิธีการกายภาพบำบัดด้วยตัวเอง

                หากท่านใดมีลักษณะอาการเข้าข่ายที่จะเป็นโรคนี้ ท่านไม่ต้องวิตกกังวลมากเกินไปนะครับ  ท่านสามารถมาขอคำแนะนำ และตรวจรักษาได้ที่ฝ่ายศัลยกรรมกระดูกและข้อของโรงพยาบาลสมเด็จ    พระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย ทุกวัน ผมไม่แนะนำให้ไปซื้อยามารับประทานเองเพราะอาจจะทำให้มีผลเสียต่อการรักษาที่ถูกต้องได้นะครับ……

…………………………………….