โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา

                                                                                                                                                                                                                                                                                               นายแพทย์ชยวิญญ์  ขจิตตานนท์

วุ้นตาเสื่อมคืออะไร?

โดยปกติในลูกตาของคนเราจะประกอบไปด้วยวุ้นใสๆ   บรรจุอยู่ในลูกตา
ซึ่งเป็นส่วนผสมของคอลลาเจนกับน้ำ 
เมื่อเกิดความผิดปกติในโครงสร้างของน้ำวุ้นตา 
จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของคอลลาเจนในน้ำวุ้นตา  จึงเกิดการหดตัว  และดึงรั้งของน้ำวุ้นตา  เนื่องจากวุ้นตา  และจอประสาทตาอยู่ติดกัน 
การหลุดลอกของน้ำวุ้นตาออกจากจอประสาทตาอาจทำให้เกิดการดึงรั้งต่อจอประสาทตาได้

สาเหตุของวุ้นตาเสื่อม

1.ตามอายุ 
ยิ่งอายุมากขึ้นก็เกิดการเสื่อมของน้ำวุ้นตาตามธรรมชาติ  จะพบได้มากใน คนที่อายุมากกว่า 
50  ปีขึ้นไป 
แต่ในคนอายุน้อยก็พบได้เช่นกัน 
แต่จะน้อยกว่าคนอายุมาก

2.ภาวะสายตาสั้นมากๆ

3.เกิดจากอุบัติเหตุที่มีการกระแทกลูกตา

4.เกิดหลังจากการผ่าตัด 
การผ่าตัดเลนส์ตาที่มีโครงสร้างของถุงรับเลนส์ฉีกขาด  อาจกระตุ้นให้เกิดวุ้นตาเสื่อมได้มากขึ้น  แต่คนไข้บางคนที่มีวุ้นตาเสื่อมอยู่แล้ว 
เมื่อผ่าตัดต้อกระจกเปลี่ยนเลนส์ตาแล้วมองเห็นได้ชัดขึ้นจะเห็นจุดดำลอยได้  ก็อาจทำให้นึกว่าเพิ่งเกิดวุ้นตาเสื่อมทั้งที่มีมาก่อนแล้ว

5.ภาวะที่ไม่มีเลนส์ตา  (aphakia)

6.ภาวะที่มีอาการอักเสบภายในลูกตา

อาการของวุ้นตาเสื่อม ผู้ป่วยที่มีภาวะวุ้นตาเสื่อมมีอาการได้หลายอย่าง

1.ไม่มีอาการใดก็ได้

2.มีอาการเห็นจุดดำ
ลอยไปมาได้  ในบางคนเมื่อเพ่ง  หรือมองจุดใดจุดหนึ่ง (
focus)  จะเห็นจุดดำคล้าย  ยุง 
เมฆ  ควันลอยอยู่ในตาได้  บางครั้งถ้าเป็นน้อยๆ  เมื่อไม่-ใส่ใจก็จะมองไม่เห็น 
เมื่อวุ้นตาเสื่อมแล้วก็จะอยู่กับเราไปตลอด  ซึ่งไม่ได้เป็นอันตรายใดๆ  ถ้าไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นมา

3.มองเห็นแสงแว่บๆ  คล้ายกับมีคนฉายไฟ  หรือฉายแฟลชกล้องใส่  อาการนี้แม้ปิดไฟมืดก็มองเห็นได้  เกิดจากการที่มีวุ้นตาเสื่อมหลุดลอก  และเกิดการดึงรั้ง จอประสาทตาขึ้น

4.ตามัวลง 
มองเห็นเหมือนมีเงามาบังไปส่วนใดส่วนหนึ่งของตา  อาจเป็นอาการแสดงถึงการที่มีจอประสาทตาหลุดลอกออกมาได้  ซึ่งเป็นภาวะที่ต้องพบจักษุแพทย์โดยด่วนที่สุด

การรักษาภาวะวุ้นตาเสื่อม

1.ไม่มียาหยอดตา  หรือยารับประทานที่รักษาได้

2.เนื่องจากภาวะนี้เป็นการเสื่อมของน้ำวุ้นลูกตา  เปรียบเทียบได้กับผิวหนังที่เหี่ยวย่น  หรือ 
ผมที่หงอก 
เมื่อเกิดความเสื่อมก็จะคงอยู่ไปตลอด 
ไม่มีอันตรายใดๆ 
ถ้าไม่มีการดึงรั้งจอประสาทตาให้ฉีกขาดซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ตลอด  แต่จะมีอุบัติการณ์เกิดขึ้นมากในช่วง 
3 
เดือนแรกหลังจากที่เริ่มมีอาการของภาวะวุ้นตาเสื่อม  ดังนั้นการรักษาจึงเป็นการตรวจจอประสาทตากับจักษุแพทย์เป็นระยะในช่วงแรก  และตรวจติดตามผล  ตามที่แพทย์นัดเป็นระยะๆ  เพื่อเฝ้าระวังการเกิดภาวะจอประสาทตาฉีกขาก  และหลุดลอก 
ซึ่งเมื่อพบลักษณะดังกล่าวจะได้เริ่มทำการรักษาได้ทันท่วงที  
ผู้ป่วยต้องทำความเข้าใจว่าลักษณะดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อถึงแม้วันที่มาตรวจจะไม่พบ  ซึ่งวันต่อๆ 
ไป  อาจจะเกิดการดึงรั้ง  และฉีกขาดของจอประสาทตาได้

ดังนั้นผู้ป่วยควรระวังอาการซึ่งเป็นสัญญาณเตือนถึงภาวะจอประสาทตาฉีกขาด
เมื่อมีอาการดังกล่าวควรรีบมาพบจักษุแพทย์เพื่อทำการตรวจเช็ดต่อไป

…………………………………………