โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา

วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์

วิสัยทัศน์

          โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี  ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย เป็นที่พึ่งด้านสุขภาพ ของประชาชนภาคตะวันออก  เป็นสถานบริการทางการแพทย์ที่ยึดหลักมนุษยธรรมและจริยธรรมมีคุณภาพ ระดับสากล ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์ ที่ได้รับการยอมรับใน ระดับประเทศ

พันธกิจ

1. ให้บริการรักษาพยาบาล ฟื้นฟูสมรรถภาพ ป้องกันโรค และสร้างเสริมสุขภาพ ด้วยความมีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และจริยธรรม
2. พัฒนาคุณภาพการบริการอย่างต่อเนื่อง และเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
3. เป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์ และเป็นสถาบันผลิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ 8 สาขา
4. บริหารจัดการองค์กรด้วยธรรมาภิบาล มีความโปร่งใส ใช้ทรัพยากร ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีความยั่งยืน และสร้างเสริมคุณภาพชีวิตของบุคลากร

ยุทธศาสตร์

1. พัฒนาบริการสุขภาพอย่างครบวงจร (Comprehensive Health Care) คือครอบคลุมทั้งการส่งเสริม, ป้องกัน,รักษา,ฟื้นฟู โดยยึดถือผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง(Patient Centered) เน้นเชิงรุก(Proactive) และชุมชนมีส่วนร่วม(Community Engagement)

2. พัฒนาโรงพยาบาลให้สามารถบริการสุขภาพได้รวดเร็ว(One stop Service) ความพึงพอใจ ด้วยบริการพิเศษ(Special Care)คุณภาพตามมาตรฐานสากล(JCI)  มีความทันสมัย(Modernized) มีความเท่าเทียม(Equity) ครอบคลุม (Coverage) ทั้งระดับปฐมภูมิ (Primary Care Unit)ทุติยภูมิ(Secondary Care) และตติยภูมิบางสาขา(Selective Tertiary Care)

3. จัดตั้งศูนย์เชี่ยวชาญโรคเฉพาะทางที่มีความเป็นเลิศ (Specialty Excellence Center) จำนวน 7 ศูนย์ได้แก่ 

          3.1 ศูนย์วินิจฉัยโรคหัวใจ (Diagnostic Cardiac Center)

          3.2 ศูนย์ผู้สูงอายุ (Elderly Care Center)

          3.3 ศูนย์เวชศาสตร์อุตสาหกรรม (Industrial Medicine)

          3.4 ศูนย์ทารกแรกเกิดก่อนกำหนด (Preterm Center)

          3.5 ศูนย์อุบัติเหตุ อุบัติภัย (Trauma Center)

          3.6 ศูนย์ผ่าตัดส่องกล้อง (Endoscopic Surgery)

          3.7 ศูนย์จุลศัสยกรรม (Microsurgery Center)

 4. พัฒนาสถาบันร่วมผลิตแพทย์(General Practioner) และสถาบันผลิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ(Specialty Doctor) 8 สาขา ได้แก่ เวชศาสตร์ครอบครัว ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ สูตินรีเวชศาสตร์ ศัลยศาสตร์ อายุรศาสตร์ กุมารเวชศาสตร์ เวชศาสตร์ฉุกเฉิน และอาชีวเวชศาสตร์(เน้นด้านอุตสาหกรรม) โดยอาศัยการสนับสนุนจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

5. พัฒนาระบบบริหารจัดการให้องค์การมีธรรมาภิบาล(Good Governance) มีการจัดการด้าน ความเสี่ยงและมีความยั่งยืน(Sustainability) และมีจิตอาสา บนพื้นฐานของการปรับปรุงสวัสดิการและสภาพแวดล้อมที่ดี มีการสร้างแรงจูงใจ ขวัญและกำลังใจ ตลอดจนพัฒนาสมรรถนะ และความชำนาญเฉพาะด้านของบุคลากร