- October 7, 2021
- somdej_admin
- Comment: 0
- ต่อมไร้ท่อ
มะเร็งต่อมลูกหมาก
นายแพทย์สัภยา ศุภนันตฤกษ์
ต่อมลูกหมาก … รู้จักชั้นหน่อยยยย….
ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะโดยเฉพาะของเพศชาย มีหน้าที่สำคัญคือการหลั่งสารคัดหลั่ง และเป็นแหล่งอาหารของอสุจิโดยจะออกมาจากต่อมลูกหมากโดยตรง โดยส่วนมากแล้วของเหลวที่ออกมาจะมีสีขาวขุ่น ไม่มีกลิ่น หรือมีกลิ่นคาวเล็กน้อย ดังนั้นการสังเกตอาการอาจเป็นการช่วยให้พบสิ่งผิดปกติได้ ต่อมลูกหมากโดยทั่วไปจะมีขนาด 20-25 gm. โดยประมาณ และจะโตใหญ่ ขึ้นได้ตามอายุ และฮอร์โมนเพศชาย แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก และอาการทางการปัสสาวะเองก็ไม่ได้ขึ้นกับขนาดต่อมลูกหมากเช่นกัน
มะเร็งต่อมลูกหมาก….รู้จักชั้นด้วยยยย
โดยปกติแล้วเซลล์ในร่างกายเมื่อถึงอายุจะมีการทำลายตัวเองไป ซึ่งจะมีเซลล์ใหม่เกิดขึ้นมา แต่เมื่อการเจริญเติบโตเกิดขึ้นแล้วและเซลล์เก่าไม่ตายไปเหลือเยอะมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เกิดเป็นต่อมลูกหมากโต หนักไปอีก เมื่อเซลล์ที่ไม่ยอมตายอยู่ไปนานๆ มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น กลายเป็นเนื้อร้ายที่เรียกว่า มะเร็ง โดยการเปลี่ยนแปลงนั้นจะขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น การอักเสบบ่อย เกิดการบาดเจ็บประจำ หรือมีประวัติทางพันธุกรรม เข้ามาทำการกระตุ้น
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก ….. ตัวโกง!!! ?
1.เพศชาย
อันนี้แน่นอน จากการสำรวจตั้งแต่อดีตมา พบว่า 15% ของเพศชายเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก และในปัจจุบัน พบผู้ป่วยเกิดใหม่ 152 คน
ต่อประชากร 100,000 คนต่อปี
2.อายุ
อายุที่มากขึ้นจะตรวจพบได้มากขึ้น อันนี้เป็นปกติในเรื่องของมะเร็งโดยทั่วไป พบชุกชุมมากสุดเมื่ออายุ 55-74 ปี ประมาณ 65%
3.ประวัติเสี่ยงในครอบครัว
คนที่มีญาติใกล้ชิดมากเป็นจะเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเป็นมากขึ้น และสัมพันธ์กับความรุนแรงของโรคด้วย
4.การอักเสบและการติดเชื้อ
การรับประทานสารก่อมะเร็ง การรับฮอร์โมน หรือการติดเชื้อมีส่วนทำให้เกิดการเสียหายของเซลล์ และเกิดการแบ่งตัวผิดปกติได้
5.บุหรี่
คนสูบบุหรี่ มีโอกาสเป็นสูงกว่าปกติ และถ้าเป็นแล้วยังสูบอยู่อีกก็จะเป็นรุนแรงและหนักกว่าคนปกติทั่วไป
6.อาหาร
เรื่องของอาหารยังไม่มีบทสรุปที่ชัดเจน แต่คนที่มีไขมันในเลือดสูงอาจจะพบโรคที่รุนแรง ขึ้นได้
อาการที่สามารถพบได้….แย่แล่วววว
ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะที่อยู่ภายในร่างกาย ดังนั้นไม่สามารถสังเกตได้จากภายนอก แต่ต้องอาศัยการสังเกตอาการ โดยเฉพาะอาการผิดปกติในการปัสสาวะ มะเร็งต่อมลูกหมากโดยทั่วไปนั้นจะไม่มีอาการ จะต้องอาศัยการตรวจเลือดหาความผิดปกติ หากมีอาการผิดปกติ จะเป็นพวกปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะเป็นเลือด มีเลือดออกมาพร้อมอสุจิ ปวดหน่วงทวารหนัก หากเป็นมากอาจมีอาการปัสสาวะไม่ออก ปัสสาวะลำบาก ปวดกระดูกมาก ปวดมากตอนกลางคืน
การตรวจเพิ่มเติม
การตรวจจะแบ่งเป็นการคัดกรองและการตรวจเพื่อยืนยันความผิดปกติ
การตรวจคัดกรอง ได้แก่ การตรวจร่างกายประจำปี การตรวจเลือดเพื่อหาค่า PSA ( Prostate Specific Antigen) จะแนะนำให้ตรวจปีละครั้งในผู้ชายอายุ 55-69 ปี
การตรวจเพื่อยืนยันความผิดปกตินั้นจะใช้เมื่อมีอาการ หรือการตรวจคัดกรองผิดปกติ การตรวจทางทวารหนัก และการตัดชิ้นเนื้อพิสูจน์ การตรวจทางทวารหนักนั้นเพื่อตรวจขนาด และความผิดปกติของรูปร่างต่อมลูกหมาก เมื่อมีความผิดปกติของทั้งผลเลือด และ/หรือ ผลการตรวจทวารหนักจะต้องตัดชิ้นเนื้อพิสูจน์ ในท้ายที่สุด
การรักษา
การรักษามะเร็งต่อมลูกหมากอาจไม่ต้องทำการรักษาในทันที ในกรณีที่เป็นขั้นแรก เพราะการดำเนินโรคค่อนข้างช้ากว่ามะเร็งชนิดอื่น และการรักษาอาจนำมาซึ่งผลข้างเคียงที่ไม่คาดคิดได้
ในขั้นต้นนั้นสามารถที่จะรักษาให้หายขาดได้โดยวิธีการผ่าตัด การฉายรังสี การใส่สารรังสีเพื่อการรักษา ซึ่งจะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป โดยการผ่าตัดไม่จำเป็นจะต้องทำการผ่าตัดแบบเปิดแผลใหญ่ โดยส่วนมากสามารถทการผ่าตัดโดยผ่านกล้อง ทำให้แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็วได้ และส่งผลต่อการกลั้นปัสสาวะน้อยกว่า
ผลข้างเคียงที่ควรรู้หลังการผ่าตัดคือ อาจมีการกลั้นปัสสาวะผิดปกติ ไม่มีการแข็งตัวของอวัยวะเพศ ซึ่งท้ายที่สุดอาจดีขึ้นได้บ้างในบางคน…..สวัสดีครับ
………………………………………