โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา

ภาวะ…สายตาขี้เกียจ

          ภาวะสายตาขี้เกียจเป็นภาวะที่คุณพ่อคุณแม่หลายๆ ท่านในปัจจุบันให้ความสนใจในภาวะนี้มากขึ้น ซึ่งผมจะขออธิบายพอสังเขปนะครับ เกี่ยวกับระบบการมองเห็นของมนุษย์ เมื่อช่วงที่เกิดมาใหม่ๆ ระบบการมองเห็นของมนุษย์ยังไม่สมบูรณ์ แต่จะมีการพัฒนาการขึ้นเรื่อยๆ เป็นลำดับ ทั้งในด้านตัวลูกตา ส่วนประกอบของลูกตา และระบบประสาทที่ถ่ายทอดไปแปลผลที่สมองว่าตามองเห็น การพัฒนานี้จะมีมาตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา จนกระทั่งอายุประมาณ 9 ขวบ(บางตำรา 6 ขวบ) โดยจะมีการพัฒนาที่เร็วมากในช่วงทารก ดังนั้นหากมีการหยุดยั้งการพัฒนาในช่วงอายุดังกล่าวแล้วไม่ได้รับการรักษาจะเกิดภาวะสายตาขี้เกียจขึ้นได้ 

ดังนั้นเด็กจะต้องใช้ตาทั้งสองข้างมองภาพในอัตราที่เท่าๆ กัน หรือใกล้เคียงกัน ตาทั้ง 2 ข้าง จึงจะเจริญได้อย่างเป็นปกติ

          การเกิดภาวะสายตาขี้เกียจพบได้ประมาณร้อยละ 1 – 5 ของประชากรทั่วไป และจะพบบ่อยขึ้นในเด็กคลอดก่อนกำหนด เด็กที่น้ำหนักแรกคลอดน้อย เด็กที่มีความพิการทางระบบประสาท เด็กที่พ่อแม่เป็นภาวะตาขี้เกียจ เด็กที่เกิดจากแม่ติดยาเสพติด สูบบุหรี่ และดื่มเหล้า

                 สาเหตุของภาวะสายตาขี้เกียจแบ่งได้ 2 กลุ่ม

                    กลุ่มแรก     – อาจจะวินิจฉัยได้ แต่รักษาได้น้อยมากหรือไม่ได้เลย เช่น เส้นประสาทตาฝ่อ  รอยแผลเป็นที่จุดรับภาพในจอประสาทตา การเสียหายของ สมองส่วนที่แปลภาพ จากการขาดออกซิเจน แต่สาเหตุของกลุ่มนี้จะพบได้น้อยครับ

                     กลุ่มที่สอง   – เกิดจากการบดบังภาพที่เข้าสู่จอประสาทตา กลุ่มนี้ดีหน่อยนะครับที่พอจะรักษา ให้ดีขึ้นได้ เช่น

                                           – ตาเข หรือตาเหล่ ภาวะนี้จะเกิดขึ้นเมื่อเด็กมีตาเขมากๆ จนเกินกำลังในการปรับ เด็กก็จะใช้ตาข้างใดข้างหนึ่งมากกว่า ทำให้ตาอีกด้านหนึ่งไม่ค่อยได้ใช้  และไม่เจริญ ซึ่งจะทำให้มัวได้ในที่สุด

                                          – สายตาสั้น – ยาว – เอียง แบบไม่สมมาตร เช่น สายตาข้างหนึ่งสั้น 100 อีกข้าง 800 ทำให้ใช้สายตาข้างที่ชัดกว่าข้างเดียวเป็นหลัก ในขณะที่ตาอีกข้างใช้ น้อยมากหรือไม่ได้ใช้เลย

                                         – โรคที่ทำให้แสงผ่านเข้าตาไม่ดี เช่น เด็กบางคนเกิดติดเชื้อในครรภ์มารดาทำให้กระจกตาขุ่น โรคกระจกตาแต่กำเนิด เลือดออกในวุ้นลูกตา หนังตาตก   ซึ่งอาจจะเกิดกับตาข้างเดียว หรือทั้ง 2 ข้าง แต่ปริมาณไม่เท่ากันจึงทำให้เกิด ตาขี้เกียจแทรกซ้อนขึ้นมาได้

การรักษาภาวะตาขี้เกียจ

                    ภาวะนี้ถ้าวินิจฉัยถูกและรักษาได้ทันท่วงที ก็จะทำให้เด็กบางคนมองเห็นได้ดีขึ้นจนเกือบปกติได้ ซึ่งจะต้องอาศัยความร่วมมือจากพ่อแม่ ผู้ปกครองมาก แต่ถ้าได้รับความร่วมมือไม่ดี อาจจะได้ผลน้อยมาก หรือไม่ได้เลย วิธีการรักษาที่ดีที่สุดคือ

                    1. ถ้าเราพบว่ามีสาเหตุก็แก้ที่สาเหตุ เช่น ถ้าเด็กมีสายตาสั้น – ยาว – เอียง ไม่เท่ากันมากๆ ก็อาจจะใช้แว่นสายตาเพื่อให้ตาทั้ง 2 ข้างสามารถมองเห็นใกล้เคียงกันมากที่สุด หรือถ้ามีภาวะของโรค เช่น หนังตาตก ก็จะต้องผ่าตัดแก้ไขทำให้ดีขึ้น
                   2. กระตุ้นให้เด็กใช้ตาข้างที่มี ภาวะตาขี้เกียจได้มองมากขึ้น เช่น ปิดตาด้านที่เห็นดีกว่าเป็นเวลาที่กำหนดจากจักษุแพทย์ ซึ่งจะต้องอาศัยความร่วมมืออย่างดีมากจากพ่อแม่ผู้ปกครอง หรือในบางรายอาจจะหยอดตาข้างที่ชัดให้มัวลงแบบชั่วคราว 

                    โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคเรื้อรัง และน่ากลัว แต่สามารถป้องกันได้ โดยดูแลสุขภาพตัวเองอย่างต่อเนื่อง ด้วยการออกกำลังกายเกือบทุกวัน กินผัก ผลไม้ ให้มากๆ ทุกมื้อ งดอาหารที่มีไขมันสูง ที่สำคัญคือจะต้องพักผ่อนให้เพียงพอวันละ 7 ชั่วโมง ดื่มน้ำสะอาดวันละ 8-10 แก้ว จะช่วยให้ร่างกายสดชื่น และผิวพรรณสดใสดูอ่อนกว่าวัย

 

                    สรุปง่ายๆ ถ้าสงสัยว่าเด็กมีปัญหาเรื่องภาวะสายตาขี้เกียจ ควรลองปรึกษากุมารแพทย์ หรือจักษุแพทย์ อย่าปล่อยจนโตเกินไป เพราะการรักษาอาจจะไม่ได้ผลเท่าที่ควร โดยเราอาจจะสังเกตง่ายๆ เช่น เด็กมีตาเหล่ตลอดเวลา หรือเหล่บางครั้ง จำหน้าพ่อแม่ไม่ได้ เห็นตาดำดูผิดปกติ ตาดูโตไม่เท่ากัน หนังตาด้านใดด้านหนึ่งที่ตกลงมา ชนสิ่งของบ่อยเกินไป เล่นของเล่นแล้วดูใกล้ผิดปกติ หากเป็นอาการเหล่านี้ควรจะพาไปตรวจเพื่อการวินิจฉัย และรักษาได้ทันท่วงทีครับ

———————————————–